เล่นตั้งนานไม่เคยรู้!? อัลกอริทึมของ Feed, Stories, Explore, Reels บน Instagram ทำงานยังไง?

Instagram ได้ถูกใช้งานครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2553 เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้รูปภาพหรือวิดีโอเป็นหลักในการสื่อสาร โดยได้รับความนิยมต่อเนื่องมายาวนานหลายปี ทาง Meta เองก็ได้พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ Instagram มีความทันสมัย มีความแปลกใหม่ให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่ล้าหลัง แต่บางครั้งก็โดนผู้ใช้งานไม่พอใจบ้าง ทั้งเรื่องการนำ Instagram ของคนที่ไม่ได้รู้จักขึ้นมาแนะนำ หรือการแสดงโพสต์ของคนที่เราตามอยู่แบบไม่เรียงตามไทม์ไลน์จริง วันนี้ทาง Foretoday จะมาเผยอัลกอริทึมของ Instagram ฉบับ 2023 ให้ฟังกันค่ะ

แต่ละส่วนของ Instagram นั้นจะมีอัลกอริทึมที่แตกต่างกันไป จากประวัติการใช้งานของเรา เพื่อที่ระบบจะนำไปคาดเดาต่อว่า สุดท้ายผู้ใช้งานแต่ละคนชื่นชอบอะไร อยากที่จะดูอะไรในแต่ละตำแหน่งต่าง ๆ ของ Instagram โดยระบบจะนับตั้งแต่เวลาที่โพสต์ ความถี่และความสนใจจากผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ที่มากดไลก์หรือคอมเมนต์ สัญญาณเหล่านี้จะให้น้ำหนักแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของแพลตฟอร์มเพื่อจัดอันดับโพสต์ ตัวอย่างเช่น เมื่อคลิกผ่าน Story ผู้ใช้งานมักจะต้องการดูเนื้อหาจากเพื่อนของตนเอง แต่ถ้าพวกเขากำลังเรียกดู Explore พวกเขาต้องการเห็นสิ่งใหม่ๆ

1.Feed 

(ขอบคุณภาพจาก Instagram)

มีการแสดงเนื้อหาจากโพสต์ของคนที่ผู้ใช้งานติดตามและไม่ได้ติดตาม โดยพิจารณาสิ่งที่ผู้ใช้งานอาจสนใจโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ รวมถึง อะไรและใครที่เราติดตาม ชอบ หรือมีส่วนร่วมเมื่อเร็วๆ นี้ โดยอัลกอริทึมพยายามปรับแต่งประสบการณ์ในแบบของแต่ละผู้ใช้งานเพื่อพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเนื้อหาจากบัญชีที่เราติดตามกับเนื้อหาจากบัญชีที่เราไม่ได้ติดตามแต่อาจสนใจ

สิ่งที่คำนึงในการแสดงผลหน้า Feed

  1. กิจกรรมของผู้ใช้งาน – การกดไลก์ คอมเมนต์ กดบันทึกโพสต์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้อัลกอริทึมรู้ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนสนใจอะไร
  2. ข้อมูลของแต่ละโพสต์ – การเกิดขึ้นกิจกรรมต่าง ๆ ในโพสต์นั้น เช่น ตั้งแต่โพสต์ไปใช้เวลาเท่าไหร่ในการได้จำนวนไลก์นี้ ทำให้อัลกอริทึมรู้ว่าโพสต์นี้ได้รับความสนใจ
  3. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้โพสต์ – สิ่งนี้ช่วยให้เราเข้าใจว่าผู้โพาต์นั้นมีความน่าสนใจเท่าไหนสำหรับเรา มีความชื่นชอบที่คล้ายกันหรือไม่ และรวมถึงสัญญาณต่างๆ เช่น ผู้คนโต้ตอบกับผู้โพสต์นั้นกี่ครั้งในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  4. ประวัติการโต้ตอบของผู้ใช้งานกับคนอื่น ๆ – สิ่งนี้ทำให้อัลกอริทึมรู้ว่าโดยทั่วไปแล้วเรามีความสนใจกับโพสต์ผู้อื่นมากน้อยแค่ไหน เช่น มีการคอมเมนต์โพสต์ผู้อื่นบ่อยแค่ไหน

2. Story

 (ขอบคุณภาพจาก elpais)

คือ Placement ที่ผู้คนสามารถแชร์รูปแบบสั้น รูปภาพแนวตั้ง และวิดีโอ ที่จะหายไปเมื่อถึง 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่คนก็จะมีการแชร์เพื่อเป็นการอัปเดทชีวิตเรื่องราวในช่วงนั้น ๆ

สิ่งที่คำนึงในการแสดงลำดับ Story

  1. ประวัติการดู Story – ระบบอัลกอริทึมจะจดจำว่าผู้ใช้งานชอบดู Story ของคนอื่น ๆ มากน้อยเพียงใด โดยจะเรียงลำดับในการโชว์จากคนอื่นที่ระบบคาดว่าผู้ใช้งานไม่อยากที่จะพลาดในการดู
  2. ประวัติการมีส่วนร่วมใน Story – ระบบอัลกอริทึมจะจดจำว่าผู้ใช้งานมีการโต้ตอบทั้งกดหัวใจ ใส่อารมณ์ต่าง ๆ หรือมีการส่งข้อความไป Reply มากน้อยเพียงใด 
  3. ความสนิท ใกล้ชิด – ระบบอัลกอริทึมจะจดจำว่าผู้ใช้งานมีการติดตามหรือเป็นผู้ติดตามกับคน ๆ นั้นมานานแค่ไหน โดยระบบมองว่าถ้าหากมีการติดตามกันมานานอาจจะมองว่าบุคคลเหล่านั้นอาจจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวได้

3. Explore Page

(ขอบคุณภาพจาก Instagram)

เคยสงสัยไหมว่าในหน้า Explore นั้น อินสตาแกรมเลือกโพสต์แบบไหนขึ้นมาแสดง และทำไมโพสต์เหล่านั้นถึงดึงดูดความสนใจของเราได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นโพสต์จากผู้คนที่เราไม่เคยรู้จัก เพราะอัลกอริทึมในหน้า Explore ทำงานโดยพิจารณาปัจจัยเหล่านี้และเกิดการจดจำว่าเป็นเนื้อหาที่เราสนใจนั่นเอง

  1. ความนิยมโดยรวมของโพสต์
  2. การที่เราเคยมีส่วนร่วมกับโพสต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน
  3. การที่เราเคยมีส่วนร่วมกับ Creator หรือผู้สร้างโพสต์เหล่านั้น

4. Reels

(ขอบคุณภาพจาก Meta)

ฟังก์ชัน Reels บนอินสตาแกรม กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม Entertainment และเป็นฟังก์ชันที่มีความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัลกอรึทึมของ Reels จะแนะนำคอนเทนต์หรือคลิปต่าง ๆ ให้คุณโดยพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้

  1. กิจกรรมที่ผ่านมาของคุณ เช่น Reels ที่คุณเคยกด Like, Save, Reshare, Comment และมีส่วนร่วมเมื่อไม่นานมานี้
  2. ประวัติการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่โพสต์ Reels เช่น การที่คุณคอมเมนต์หรือพูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่งบ่อย ๆ ในไอจี เมื่อเพื่อนคนนั้นโพสต์ Reels คลิปก็จะถูกแนะนำมาให้คุณ
  3. ข้อมูลของผู้โพสต์ Reels เช่น ยอดผู้ติดตามของผู้โพสต์หรือระดับการมีส่วนร่วม(Engagement) จะถูกนำมาพิจารณาความนิยมของคลิป เพื่อที่จะแนะนำ Reels ที่น่าสนใจให้ผู้ใช้งานได้
  4. ปัจจัยต่าง ๆ ในคลิป Reels ก็จะถูกอัลกอริทึมนำไปพิจารณาในการแนะนำด้วย เช่น เสียงประกอบในคลิป ภาพในคลิป รวมถึงความนิยมของคลิป

บทส่งท้าย

ทุกคนก็ได้รู้กันแล้วว่าอัลกอริทึมของ Feed, Stories, Explore และ Reels บน Instagram ทำงานยังไง สุดท้ายแล้วเราจะพบว่าปัจจัยที่อัลกอรึทึมหยิบไปพิจารณาและแนะนำคอนเทนต์ต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานก็คือพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เอง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Instagram รวมถึงโซเชียลมีเดียอื่น ๆ สามารถแนะนำคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ

ขอขอบคุณบทความอ้างอิงจาก socialmediatoday

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday

SIGN UP TO FORETODAY'S NEWSLETTER

For exclusive digital news, tips & tricks, opportunities and announcement
- plus a few surprise!

ForeToday ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า