วิธีใช้งาน Google Search Console สำหรับผู้เริ่มต้น Home / Articles / วิธีใช้งาน Google Search Console สำหรับผู้เริ่มต้นGoogle Search Console คือเครื่องมือที่เหมาะกับผู้ใช้บริการทุกคนที่มีเว็บไซต์ของตนเอง โดยเฉพาะในสาย SEO เเละฝั่งผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบความเรียบร้อยของเว็ปหรืออัพเกรดเว็ปไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การใช้งานเครื่องมือนี้สามารถใช้ได้ทันที เพียงเเค่คุณมีบัญชี Google ก็พออ่านเพิ่มเติมเรื่องของ Google Search Consoleบทความนี้จะมาบอกเกี่ยวกับการใช้งาน Google Search Console สำหรับผู้เริ่มต้น ที่จะทำให้คุณเข้าใจวิธีการใช้งาน รวมถึงความจำเป็นของเครื่องมือตัวนี้ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุง เเละพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ เเละเครื่องมือตัวนี้มีผลอย่างมากในการทำ SEOเเละวันนี้เราจะมาสอนคุณตั้งเเต่ขั้นตอนเเรกเลยนะครับ การติดตั้ง Google Search Console วิธีการติดตั้ง Google Search Console สำหรับเว็บไซต์ของคุณ ขั้นตอนนี้เราจะมาสอนการสมัครเเละการใช้งาน การเพิ่มเว็บไซต์เข้าไปยังส่วนของ Property การยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงการอนุญาตการเข้าถึงสมัคร Google Search Console อย่างไร ?ขั้นเเรก เข้าไปที่ https://search.google.com/search-console/about และกด “เริ่มใช้งานเลย” ล็อกอินด้วยบัญชี Google (Gmail) ขั้นตอนถัดมาให้ทำการเพิ่มเว็บไซต์ Property ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือDomain Propertyการเพิ่มเว็บไซต์ของคุณด้วยการระบุโดเมน เช่น foretoday.asia, Search Console จะทำการจัดรูปเเบบ URL ของคุณทั้งหมด โดยที่คุณไม่ต้องไปคอยกดเพิ่มทีละรูปเเบบ URL เหมือน URL- prefix Propertyคำนำหน้า URL ( URL – Prefix Property )การเพิ่มเว็บไซต์ด้วยรูปเเบบ URL ที่คุณใช้เเบบเจาะจง URL เช่น https://foretoday.asia ,https://foretoday.asia , หรือ https://foretoday.asia , https:/foretoday.asiaจากนั้นเลือกเมนู ” ดำเนินการต่อ “ขั้นตอนต่อมาให้ทำการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ของคุณLink ยืนยันตัวตนการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขั้นตอนการยืนยัน มีด้วยกัน 2 วิธี คือการยืนยันเเบบ Domainด้วยวิธีการเพิ่ม DNS record ไปยังโฮสต์ของคุณ ดูวิธีทำที่ลิงก์ด้านบน มองหาหัวข้อ “ระเบียน DNS” (DNS record) หลังจากนั้นให้คุณกลับไปที่หน้า Search Console เเล้วกด Verifyยืนยันเเบบคำนำหน้า URL ( URL – Prefix Property )ขั้นตอนนี้สามารถทำได้หลายวิธีUpload file HTML ที่ Search Console เเละกำหนดไปยัง Root Directory ของเว็บไซต์คุณ ให้ดูวิธีการทำที่ Link ยืนยันตัวตนการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ เเล้วไปที่ รายระเอียดวิธีการยืนยัน > การอัพโหลดไฟล์ HTMLเพิ่ม meta tag ที่ได้รับจาก Search Console ในส่วนหัวของเว็บไซต์คุณ ดูวิธีการทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ ” เเท็ก HTML ” สำหรับผู้ที่ใช้ WordPress สามารถเพิ่ม meta tag ได้ที่ header.phpยืนยันผ่าน GA ( Google Analytics ) วิธีทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ ” โค้ดติดตาม Google Analytics ” หรือ Google Analytics Tracking Codeยืนยันผ่าน Google Tag Manager วิธีทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ “ ข้อมูลโค้ดคอนเทนเนอร์ใน Google Tag Manager ” (Google Tag Manager container snippet)คุณต้องทำวิธีการนี้ซ้ำตามจำนวนรูปเเบบของ URL ที่คุณต้องการเพิ่มใน Property ทั้งหมดขั้นตอนการจัดการผู้ใช้ เเละการอนุญาตวิธีการตั้งค่าการใช้งานการเข้าถึงเว็บไซต์ Property สำหรับคนทั่วไป เเละทีมงาน Google Search Console ใช้งานยังไง ? เมื่อเสร็จสิ้นจากขั้นตอนการติดตั้งทั้งหมดเเล้ว ให้เริ่มใช้งาน Google Search Console โดยจะขออธิบายการใช้งานเเต่ละส่วนเเละรายระเอียดของการใช้งานในเเต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้ภาพรวม ( Overview )หน้าแสดงภาพรวม ที่จะแสดงข้อมูลสรุปรายงานที่สำคัญของเว็บไซต์คุณ เช่น ผลการปฏิบัติงาน ความครอบคลุม การเพิ่มประสิทธิภาพผลการปฎิบัติงาน ( Performance )เครื่องมือส่วนนี้มีหน้าที่รายงานผลการปฎิบัติงานบน Search Console จะแสดงข้อมูลที่จำเป็นที่คุณต้องการเพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เราสามารถดูข้อมูลหรือเอกชั่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ URL หน้าเว็บของเราที่ไปปรากฎบนหน้าผลการค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด สำหรับการปรับปรุงเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ และใช้ติดตามอันดับของคีย์เวิร์ดในแต่ละหน้าเว็บไซต์แบบเฉลี่ยได้อีกด้วย )การกรองเพื่อดูข้อมูล ( Filter )ประเภทของการค้นหา คุณสามารถกรองเพื่อดูผลการค้นหาได้ 3 ประเภทใน Search Console ได้เเก่WebImageVideoเเละในส่วนของการเปรียบเทียบ ( Compare ) คุณสามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบเมตริกของผลการค้นหาในเเต่ละประเภทได้ช่วงวันที่ ( Date Range Filter ) คุณสามารถกรองข้อมูลได้สูงสุด 16 เดือนใน เสิร์ช คอนโซล ตัวกรองช่วงวันที่สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น 7 วัน, 28 วัน, 3 เดือน, 6 เดือน ฯลฯ เเละหากต้องการดูเเค่ 1 – 2 วัน คุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือ ” เพิ่มช่วงเวลาที่กำหนดเอง “ส่วนของ การเปรียบเทียบ (Compare)เป็นการกรองเพื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาที่แตกต่างกันของข้อมูลและประสิทธิภาพการค้นหา เช่น คุณอยากตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ 30 วันล่าสุด และ 30 วันก่อนหน้านี้ตัวกรองเพิ่มเติมคุณสามารถกรองข้อมูลพิ่มเติมตามความต้องการของคุณได้ในส่วนของมิติข้อมูลเเละเมตริก อื่นๆมิติข้อมูล ( Dimensions )การจะเพิ่มมิติข้อมูลอื่นๆได้ คุณต้องกดที่ ( + ใหม่ ) ,( +New ) ที่เเถบตัวเลือกด้านบนเพื่อใช้ตัวกรองที่คุณต้องการ เช่นข้อความค้นหา, คีย์เวิร์ด (QUERIES)หน้าที่ผู้ใช้เข้าชม (PAGES)ประเทศที่มาของผู้ใช้ (COUNTRIES)เป็นต้นเมตริก ( Metrics )จะเป็นเเถบเเสดงข้อมูลต่างๆเช่นการคลิก (Clicks) – จำนวนการคลิก URL ของเว็บไซต์ของคุณ ในหน้าผลการค้นหาของ Google Search (ไม่รวม Google Ads)การแสดงผล (Impressions) – จำนวนครั้งที่ URL จากเว็บไซต์ของคุณปรากฏในผลการค้นหาที่มีผู้ใช้เปิดดู (ไม่รวม Google Ads)CTR (Click through rate) – อัตราการคลิกผ่าน คำนวณจาก จำนวนคลิก / จำนวนการแสดงผล * 100ตำแหน่ง (Position) อันดับโดยเฉลี่ยของ URL ของเว็บไซต์ของคุณสำหรับ ข้อความค้นหา, คีย์เวิร์ด เช่น URL ของคุณติดอันดับผลการค้นหาในคำที่คล้ายกันที่อันดับ 2 และอันดับที่ 6, อันดับเฉลี่ยคือ 4 ((2+6)/2)เครื่องมือตรวจสอบ URL (URL Inspection)เครื่องมือตรวจสอบ URL นี้ จะช่วยตรวจสอบหน้าเว็บจาก URL ที่คุณระบุ และแสดงข้อมูลหลังการทดสอบให้คุณได้เห็น ในส่วนของการจัดทำดัชนี, ความเหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่, ริช สนิปเปต และอื่นๆนอกจากนี้หากคุณมีหน้าเนื้อหาใหม่ที่ต้องการแจ้งให้กูเกิลบอททราบ เพื่อเข้ามาเก็บข้อมูลไปจัดทำดัชนี ( Indexing ) แบบเร่งด่วน ให้ทำการใส่ URL หน้าเนื้อหาที่ต้องการ, รอการตรวจสอบข้อมูล, จากนั้นกด “ขอการจัดทำดัชนี” เพียงเท่านี้กูเกิลบอทก็จะวิ่งเข้ามาเก็บข้อมูลบนหน้าเว็บของคุณและนำไปจัดทำดัชนีในทันที ซึ่งอาจใช้เวลานิดหน่อยในการอัพเดทบนระบบรายงานความครอบคลุม ( Coverage )มีหน้าที่ใช้ในการตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณที่ได้รับการจัดทำดัชนีอย่างถูกต้อง หน้าที่มีข้อผิดพลาด หน้าที่มีคำเตือน รวมถึงหน้าที่ถูกยกเว้นหากหน้าไหนมี “ข้อผิดพลาด” เสิร์ช คอนโซล จะบอกให้คุณทราบว่าผิดพลาดเพราะอะไรและให้คุณทำการแก้ไขโดยเร็ว หรือถ้าหากมีหน้าเว็บที่สำคัญแต่ถูก “ยกเว้น” ในการจัดทำดัชนี คุณก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขมันได้อย่างทันท่วงทีรายงานเเผนผังไซต์ ( Sitemap )ส่วนของการเพิ่มแผนผังไซต์ (sitemap) และการตรวจสอบความถูกต้องในการเข้ามาเก็บข้อมูล หากไซต์แมพของคุณมีข้อผิดพลาด เสิร์ช คอนโซล จะแจ้งให้คุณทราบรายงานการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Usability)คุณสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของหน้าเว็บที่ไม่รองรับการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ที่ หากพบข้อผิดพลาดในหน้าไหน Search Console จะเเจ้งให้คุณทราบ ว่ามีข้อผิดพลาดในส่วนใดของหน้า พร้อมคำแนะนำสำหรับการแก้ไขรายงาน AMP (Accelerated Mobile Pages)หากคุณมีการใช้งาน การสร้างหน้าเว็บที่มีเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง หรือ AMP บนเว็บไซต์ของคุณ รายงานนี้จะแสดงข้อผิดพลาดเฉพาะของ AMP และวิธีการแก้ไขให้คุณทราบ และหลังจากแก้ไขปัญหาแล้วคุณสามารถแจ้งให้ Google ทราบ เพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้งได้โดยตรงผ่านรายงานนี้รายงานสถานะ ริช สนิปเปต (Rich Result Status)การแสดงรายงานเกี่ยวกับ ริช สนิปเปต บนหน้าเว็บไซต์ของเรา หากมีข้อผิดพลากที่ควรแก้ไข Search Console จะเเจ้งให้ทราบประเภทของ ริช สนิปเปต ที่สามารถตรวจสอบได้ คือEventFAQFact CheckHow-toJob postingLogoProductQ&A pageRecipeSitelinks searchboxรายงานการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ (Manual Actions)รายงานการแจ้งเตือนปัญหาจากเจ้าหน้าที่ของกูเกิล เเต่ถ้าคุณปรับเเต่งเว็บไซต์อย่างถูกต้องจะไม่มีการรายงานปัญหาใด ๆ ให้เห็นรายงานปัญหาด้านความปลอดภัย (Security Issues)หากเว็บไซต์ของคุณถูกแฮ็ก ใช้เทคนิคฟิชชิงหรือติดมัลแวร์ คุณจะเห็นการแจ้งเตือนในรายงานปัญหาด้านความปลอดภัย จากทีมงานของกูเกิล Search Console จะเเนะนำวิธีการเเก้ไขปัญหาความปลอดภัยนั้นๆ เเละรวมถึงการยื่นขอพิจารณาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ของคุณใหม่รายงานลิงก์ ( Links )ส่วนของรายงานลิงก์ประกอบด้วย ลิงก์ภายนอก (External Links), ลิงก์ภายใน (Internal Links) และเว็บไซต์ยอดนิยมทำมีลิงก์ย้อนกลับ (Backlinks) เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณGoogle Search Console เครื่องมือฟรีจากทาง Google ที่จะช่วยให้คุณสามารถติดตามประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนของการแสดงผล การวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเเละเเม่นยำ เเละทันท่วงที“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”“A better tomorrow starts today” Previous Next
Creativeความแตกต่างในการทำ Content marketing สำหรับ B2B และ B2C ที่ช่วยให้ธุรกิจคุณตอบโจทย์มากขึ้น! Supitcha|27 มี.ค. 2023
Marketing TechHow to สร้าง URL ให้ Link ไปที่ข้อความ เทคนิคลับที่นักการตลาดควรใช้ Naruebet N.|28 ต.ค. 2022