ความแตกต่างของ Bounce Rate ใน GA3 และ GA4 Home / Articles / ความแตกต่างของ Bounce Rate ใน GA3 และ GA4วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างระหว่าง Bounce Rate ใน GA3 และ GA4 ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงวิธีการนับ Bounce Rate ของทั้ง 2 เวอร์ชั่น เพราะเหตุนี้เอง เราจึงไม่สามารถจะเอา Bounce Rate ใน GA3 เทียบเคียงกับ GA4 ได้โดยตรง เพราะมันจะไม่เท่ากันแน่นอน เพราะวีธีคำนวณต่างกันBounce Rate ใน GA3 นั้นมันคือ สัดส่วนของ Bounced Sessions / Total Sessions ซึ่งเจ้าตัว Bounced Sessions คือ sessions ที่เกิดจากการเข้าชมหน้าเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวและไม่ได้มีการคลิกต่อไปหน้าไหนอีก หรือรวมถึงไม่ได้มีการกระทำ Action ใดที่ทำให้เกิดเป็น Eventดังนั้นค่า Bounce Rate ใน GA3 อาจจะทำให้หลายคนสับสนและเข้าใจว่า Sessions ที่มี Bounce มันไม่ดี แต่อย่าลืมคิดไปว่า Users ที่เข้ามาเป็น sessions จำนวนหนึ่งได้อ่านเนื้อหาในหน้านั้นหรือสิ่งที่เค้าต้องการในหนึ่งหน้าจบแล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่นาน และไม่ได้คลิกไปหน้าอื่น ๆ ต่อ จึงเกิดเป็นค่า Bounce แล้วนับเป็น Bounced Sessions ต่อ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่อย่างไรก็ตามในการกัพเดท GA4 ในช่วงแรก ตัว Bounce Rate นี้ก็ยังไม่ได้ถูกนำเข้ามา จนกระทั่งเมื่อกลางปี 2022 ที่ได้นำกลับเข้ามาใหม่ แต่วิธีนับจะแตกต่างจากตัว GA3 โดยจะเป็นการนับจาก Sessions ที่ไม่นับเป็น Engaged Sessions / Total Sessions แทนการนับคำนวณ Bounce Rate และ Engagement Rate ค่า Bounce Rate ใน GA4 จะเป็นค่าที่ตรงกันข้ามกับ Engagement Rate ซึ่งหมายความว่าถ้า website มีค่า Bounce Rate ที่ 20% ค่า Engagement Rate จะอยู่ที่ 80% โดยวิธีนับ Engage Session มี 3 เงื่อนไขพื้นฐาน ถ้าหากเข้า 1 ใน 3 เงื่อนไข จะถูกนับเป็น Engaged Session ทันที ได้แก่Session นั้นใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์เกิน 10 วินาที (ค่าเริ่มต้น)Session นั้นเข้าชม website มากกว่า 1 หน้าSession นั้นเกิด Conversion Event แม้จะไม่ได้เข้าหน้าอื่น ๆ ดังนั้น Session ใดที่ Landing มาแล้วไม่เกิน 10 วินาที และไม่ได้ทำเกิด Conversion จะถือว่าเป็น Session ที่ไม่ Engage และคำถามที่น่าสนใจต่อมาก็คือ ถ้าบาง website มีเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่า 60 วินาที แล้วบางคนเข้ามา 12 วินาที โดยไม่ได้ทำความเข้าใจเนื้อหา ในส่วนนี้การนับ Engaged Session จะมีความเหมาะสมจริง ๆ ไหม? คำตอบคือ ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น Google เลยมีฟีเจอร์ให้เราเปลี่ยนค่าจาก 10 วินาที เป็นค่าที่เรากำหนดเองได้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละ website ฟีเจอร์ที่กล่าวมานั้นก็คือ Adjust timer for Engaged Sesions แต่การดูเพียงค่า Bounce Rate ก็ดูจะไม่มีความเหมาะสม 100% เนื่องจากถ้า website นั้นมีการตั้งค่าการนับ Engaged Session ไว้ที่ 300 วินาที แต่มี Session ที่ใช้งานบน website นั้น 298 วินาที ก็จะไม่ถูกนับเป็น Engaged Session และกลายเป็น Brounce Rate แทน จะเห็นได้ว่าตัวเลข Brounce Rate ใน GA4 ก็อาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้ 100% เพราะเป็นตัวเลขที่คาบเกี่ยวระหว่างความ “มีคุณภาพ” และ “ไม่มีคุณภาพ” สรุปเพราะฉะนั้นแล้ว เราควรที่จะกำหนดค่า Adjust timer for Engaged Sessions ให้เหมาะสมในแต่ละธุรกิจเพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ bounce rate ได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เว็ปไซต์ข่าว พฤติกรรมโดยปกติของคนมักจะต้องใช้เวลาอ่านข่าวหรือบทความ เป็นระยะเวลานึง ถเราอาจจะตั้งค่า Adjust timer for Engaged Sessions ไว้สูงขึ้นหน่อยเพื่อที่เราจะสามารถนำ metric bounce rate ไปวิเคราะห์ถึงความน่าสนใจของบทความนั้นได้ เพื่อนำไปปรับปรุงลักษณะของการนำเสนอบทความของเว็ปไซต์เราและนี่ก็คือทั้งหมดของ Bounce rate ใหม่ใน GA4 ครับ จะเห็นว่าความเเตกต่างจาก GA3 ก็คือมีการเปลี่ยนการคิดจาก Bounce session เป็นส่วนที่นอกเหนือจาก Engagement Rate ซึ่งจะทำให้ตัวเลขคำนวณออกมาต่างกัน อีกไม่นานเราจะต้องใช้ GA4 แทน GA3 กันแล้วเพราะฉะนั้นอย่าลืมศึกษาข้อแตกต่างกันนะครับ มี metric หลายตัวที่เปลี่ยนวิธีคำนวณไปเหมือนกัน แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับDigital Marketing Google Ads Google analytics Previous Next
A NewsLINE อัพเดตฟีเจอร์ใหม่ รอดหรือร่วง ช่วยแก้ปัญหาให้คนที่ส่งงานผ่านไลน์ได้มั้ย บทความนี้มีคำตอบ! Pensiri C.|27 ก.ย. 2023
A Newsไม่เลือกงาน ไม่ยากจน! แค่โพสก็ได้ตัง สมัคร X Premium (Twitter Blue) แล้วมีรายได้จริงรึป่าว? บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดให้ฟังกัน Pensiri C.|30 ส.ค. 2023
ArticlesCTC2023: อัปเดต Marketing Insight ปี 2023 นักการตลาดต้องรู้เพื่ออยู่ให้รอด! Anna L|07 ก.ค. 2023
Marketing TechCustomer Retention Strategy : กลยุทธ์ในการหาลูกค้าใหม่หรือรักษาฐานลูกค้าเดิมให้กลับมาซื้อซ้ำๆ First Nutchnon|07 ก.ค. 2023